การประชุมหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับประเทศ สำหรับ The Selection of National Pilot Sites under the Joint UNOSSC-led Project เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 เวลา 09.30 – 16.45 น. ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชุมหารือการกําหนดพื้นที่โครงการนําร่องซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องการการส่งเสริมมิติความมั่นคงด้านน้ำอาหาร และพลังงาน (Water-Food-Energy Nexus) ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง รวมถึงการวางแผนแนวทางการดําเนินงาน และกําหนดตัวชี้วัดโครงการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินโครงการ Triangular Cooperation Project on Sustainable Development in the Mekong Basin เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในลุ่มน้ำโขง หรือ RoK-UNOSSC Facility Phase 3 หรือ P-LINK ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง MRCS และสํานักงานสหประชาชาติเพื่อความร่วมมือใต้ – ใต้ (United Nations Office for South – South Cooperation: UNOSSC) โดยโครงการ P-Link มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการจัดการน้ำพลังงานและอาหารในประเทศลุ่มน้ำโขงทั้ง 4 ประเทศ โดยเป็นโครงการ ที่มีระยะการดําเนินงาน 5 ปี (ค.ศ. 2021 – 2025) ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทน TNMCS ผู้แทน สทนช. ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดริมน้ำโขง เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม (ผศ.ดร. รัชนี นามมาตย์) ผู้แทนจากหน่วยงาน MRCS UNOSSC และสถาบันนโยบาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Science and technology policy institute: STEPI) ผู้เชี่ยวชาญจาก K-water สาธารณรัฐเกาหลี และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI)
สรุปผลการประชุม
1. ผู้แทน STEPI ได้นําเสนอเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความต้องการน้ำ พลังงานและอาหาร ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การเติบโตของเศรษฐกิจ การขยายตัวของพื้นที่เมือง และการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ทําให้เกิดผลกระทบในการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้ ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นประเด็นความท้าทายใหญ่ของโลก STEPI จึงได้ริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับ NEXUS STEPI ยังได้นําเสนอกรณีศึกษาโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ – พลังงาน – อาหาร จํานวน 3 โครงการ (1) Case Study of Nexus in Korea and Utilization for LAC Countries (2) Water & Energy for Food (WE4F) (3) Integrated Resource Management in Asian Cities: The Urban Nexus ซึ่งทั้ง 3 กรณีศึกษา ทาง STEPI ได้พิจารณาแล้วและเห็นว่าควรมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในประเด็นการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ การออกแบบโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การดําเนินการร่วมกับภาคเอกชนเพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนในพื้นที่ การดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. ผู้แทน MI ได้นําเสนอเกี่ยวกับประเด็นการจัดทําโครงการผ่านความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Multi-Sectoral Platform: MSP) เพื่อออกแบบโครงการให้เหมาะสมผ่านการจัดทําโครงการนําร่อง กระบวนการดําเนินงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน บทเรียนที่ได้จากกรณีศึกษา ผู้จัดทําโครงการต้องมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของ NEXUS ยึดความต้องการของประเทศและภูมิภาคที่จัดทําโครงการเป็นหลักในการขับเคลื่อนโครงการ หลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน หุ้นส่วนในภูมิภาคต้องทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลัก ในการดําเนินโครงการ และมีกลยุทธ์ในการติดต่อประสานงาน
3. หลักเกณฑ์ในการจัดทําโครงการครอบคลุมการคัดเลือกพื้นที่ในการดําเนินการ ควรเป็นพื้นที่ในอําเภอที่มีความห่างไกล ผู้ดําเนินการและชุมชนควรมีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ ครอบคลุมการระบุสถานที่ในการจัดตั้งโครงการและประสานงานร่วมกับ หน่วยงานในพื้นที่เพื่อทราบเกี่ยวกับการดําเนินโครงการ การอํานวยความสะดวก และการประสานงานร่วมกับผู้นําชุมชน และหน่วยงานผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จัดทําโครงการหรือกิจกรรมการพัฒนาทักษะและศักยภาพ การสนับสนุนทางเทคนิค ตลอดจนการสนับสนุนการตัดสินใจของชุมชนและการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการนําเทคโนโลยีสู่ชุมชน และการรายงานโครงการให้หน่วยงานกลางของภาครัฐ
4. ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันอภิปรายข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านน้ำ-อาหาร-พลังงาน และแผนการดําเนินงานเพื่อการพัฒนา โครงการที่เชื่อมโยงในมุมมองตามข้อคิดเห็นของแต่ละประเทศสมาชิก ดังนี้
Cambodia ได้จัดลําดับความสําคัญของประเด็นที่จะเป็นวาระแห่งชาติ (National Priorities) ตามนโยบายขับเคลื่อนของประเทศ โดยเสนอประเด็นที่จะจัดทําโครงการนําร่อง ได้แก่การผลิตและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การชลประทานและการใช้น้ำ (การบริหารจัดการน้ำท่วมและน้ำแล้ง) กลไกการสร้างความเข้มแข็งในการปรับปรุงการวางแผนบูรณาการการบริหารจัดการลุ่มน้ำ (IWRM) โดยได้เสนอให้มีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ชุมชนท้องถิ่น NGOs หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และภาคการศึกษา และมี CNMC เป็นหน่วยงานประสานหลัก รวมถึงการสนับสนุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคในสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
Lao PDR ได้จัดลําดับความสําคัญของประเด็นที่จะขับเคลื่อน (National Priorities) ที่เชื่อมโยงกับ W-E-F Nexus ในประเด็น น้ำท่วม-น้ำแล้ง การผลิตไฟฟ้าและการใช้ประโยชน์จากน้ำ ความมั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเสนอพื้นที่โครงการศึกษาที่ Xebangfai basin ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัด Khammoun พื้นที่ต้นน้ำของเมือง Mahaxai โดยมีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า NT2 Outlet of PowerPlant of NT2 HHP ให้มีการบูรณาการผู้เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพให้กับท้องถิ่นและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งกองทุนชุมชน เป็นต้น
Thailand ได้ลําดับความสําคัญของประเด็นที่จะดําเนินการ ได้แก่ การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมในลุ่มแม่น้ำโขง ในด้านการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตร การพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในแม่น้ำโขงสายหลัก ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง การขาดการเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างความตระหนักในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเสนอพื้นที่โครงการนำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งระบุประเด็นเปราะบางในด้าน (1) การประมงที่ได้รับผลกระทบจากการลดลงและสูญพันธุ์ของพันธุ์ปลา โดยขอรับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี/การจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ปลา และ (2) การเกษตร โดยขอรับการสนับสนุนการบริหารจัดการ SMART Agriculture เช่น การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาชีพภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการจัดตั้งศูนย์ Resilient center เพื่อสร้างความตระหนักในการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ การขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่เหมาะสมกบบริบทของชุมชน สามารถจัดหามาใช้ได้ และมีราคาที่เหมาะสม
Vietnam ได้ระบุพื้นที่ดําเนินโครงการนําร่อง คือ Mekong Delta ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของพื้นที่ต้นน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรงในพื้นที่ Mekong Delta และ central highland การรุกล้ำของน้ำเค็มการทรุดตัวของดินและริมฝั่ง เป็นต้น โดยระบุประเด็นขอบเขตการศึกษา ได้แก่ การแก้ไขปัญหาด้านน้ำดังกล่าวที่มีความเชื่อมโยงกับ W-E-F ดําเนินการร่วมกับองค์กรท้องถิ่น VNMC ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินโครงการ และประเมินผลโครงการ การถ่ายโอนข้อมูลไปยังชุมชน รวมถึงการขยายขอบเขตการจัดทําโครงการไปสู่ระดับภูมิภาค