วันที่ 5 มิถุนายน 2567 นางสาวสิตารินทร์ ทองปุสสะวัลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมือทวิภาคี
กองการต่างประเทศ (กกต.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ กกต. และนายเกรียงศักดิ์ ภิระไร ผู้อำนวยการสำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก
ทบ. ร่วมลงพื้นที่ และต้อนรับ Dr. Sandor Sipos เอกอัครราชทูตฮังการี ประจำประเทศไทย และคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
โดยใช้เทคโนโลยี Riverbank Filtration (RBF) ณ ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท
ระบบสูบน้ำ RBF ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีสูบน้ำบาดาลจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาร่วมกับน้ำผิวดินที่ผ่าน
การกรองจากธรรมชาติ โดยซึมผ่านชั้นกรวดทรายสู่ชั้นน้ำบาดาลตามฝั่งแม่น้ำ ทั้งนี้ ผู้แทน ทบ.
ได้รายงานถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยี RBF มาปรับใช้ คือ (1) ช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้สะอาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยช่วยลดความเข้มข้นของสารปนเปื้อน เช่น ธาตุโลหะหนัก สารเคมีตกค้าง
และสารอินทรีย์ (2) เป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานน้อย และไม่ใช้สารเคมี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และ (3) ช่วยรักษาเสถียรภาพทางคุณภาพน้ำโดยควบคุมอุณหภูมิน้ำในชั้น Aquifer ให้คงที่ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เพิ่มศักยภาพในการจ่ายน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคในพื้นที่ จำนวน 8 หมู่บ้านให้มีระบบบจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และยั่งยืน นอกจากนี้ ระบบ RBF ของชุมชนหาดท่าเสา นับเป็นสถานี RBF
แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการนำร่องภายใต้ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ไทย – ฮังการี ที่เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม
การดำเนินงานในระยะต่อไป กกต. จะนำประเด็นที่ได้จากการลงพื้นที่ณ สถานี RBF จ.ชัยนาท
ไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาโครงการร่วมกัน ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่าง สทนช.
และกระทรวงมหาดไทยฮังการีต่อไป