โครงการงบประมาณสนับสนุนภายใต้กองทุน LMC (LMCSF project )
โครงการกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ “Transboundary Cooperation Mechanism on Adaptation to Climate Change and Hydropower Development Project)”
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน LMC ประจำปี ค.ศ. 2017 ดำเนินโครงการโดยสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI) ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
VIDEO pppppp
ผลการศึกษาโครงการ “Transboundary Cooperation Mechanism on Adaptation to Climate Change and Hydropower Development Project”
คณะรัฐมนตรีมีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2561 เห็นชอบต่อ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสำหรับโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง คือ “โครงการกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำ” ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำ(เดิม) ดำเนินการร่วมกับสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง(Mekong Institute : MI) ซึ่งเมื่อ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงย้ายมาอยู่ที่ สทนช. ในปี 2562 จึงมีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานดำเนินโครงการ โดยมีหนังสือผ่านช่องทางการทูตไปยังสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย เพื่อแจ้งเปลี่ยนหน่วยงานดำเนินโครงการฯ เป็น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ แล้ว
วัตถุประสงค์
หารือการจัดตั้งกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ
ส่งเสริมความตระหนักรู้ของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เสริมสร้างการรับรู้ของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำดำเนินการระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2561 ถึง 10 ตุลาคม 2562 จากการดำเนินการโครงการที่ผ่านมาความก้าวหน้าที่สำคัญ ดังนี้
พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสำหรับโครงการภายใต้กองทุนพิเศษโครงการกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อสนับสนุนการ “ล้านช้าง คือ แม่โขง ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 และมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ รวม 2 ฉบับ
การจัดประชุมเปิดตัวโครงการและรายงานเริ่มงาน (Inception Meeting) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561
การจัดประชุมหารือและสัมภาษณ์หน่วยงาน/ประเทศสมาชิก
การจัดประชุมหารือและสัมภาษณ์ในประเทศไทย รอบที่ 1 จัดขึ้นรวม 3 ครั้ง
การประชุมหารือและสัมภาษณ์ใน สปป.รอบที่1 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562
การประชุมหารือและสัมภาษณ์ในประเทศจีน รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 6-9 มีนาคม 2562
การประชุมหารือและสัมภาษณ์ในประเทศไทย รอบที่2 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562ที่ประชุมรับทราบนำเสนอข้อมูลจากผลการประชุมหารือและสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 (รวม 3 ประเทศ)และให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์สำหรับการดำเนินโครงการฯ และการจัดทำรายงาน
การรายงานความก้าวหน้าโครงการต่อคณทำงานร่วมสาขาทรัพยากรน้ำในการประชุมสมัยวิสามัญ เมื่อวันที่ 4-5 มิถุนายน 2562
การประชุมหารือและสัมภาษณ์ใน สปป.ลาว(เพิ่มเติม) เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2562
การประชุมหารือระดับภูมิภาค ครั้งที่ 1 ในวันที่ 28 มิถุนายน 2562
การประชุมหารือระดับภูมิภาค ครั้งที่ 2 วันที่ 6 สิงหาคม 2562 กรุงเทพ
ผลการศึกษา
รายงานเล่มที่ 1 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง – บทบาทของเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง : นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆประกอบด้วย สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง – ล้านช้างการประเมินบทบาทของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำต่อการลดผลกระทบจากการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างฉับพลัน และข้อเสนอสำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
รายงานเล่มที่ 2 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลในภูมิภาคแม่โขง – ล้านช้าง – โอกาส และความท้าทาย : นำเสนอข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย สถานะปัจจุบันของการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านน้ำในลุ่มแม่น้ำโขง – ล้านช้าง หน่วยงานหลักและบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ข้อสังเกตุต่อการแลกปลี่ยนข้อมูลด้านน้ำในลุ่มแม่น้ำโขง – ล้านช้าง และข้อเสนอกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ
รายงานเล่มที่ 3 เวทีสำหรับความร่วมมือใน ลุ่มน้ำโขง – ล้านช้าง – การเพิ่มพูน ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การร่วมศึกษา และความร่วมมืออื่นๆ : นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ความท้าทายเชิงนโยบายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทรัพยากรน้ำ การเพิ่มพูนความร่วมมือผ่านกลไก
รายงานเล่มที่ 1 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง – บทบาทของเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำในการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง : นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆประกอบด้วย สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง – ล้านช้างการประเมินบทบาทของเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำต่อการลดผลกระทบจากการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำอย่างฉับพลัน และข้อเสนอสำหรับการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง
รายงานเล่มที่ 2 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลในภูมิภาคแม่โขง – ล้านช้าง – โอกาส และความท้าทาย : นำเสนอข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย สถานะปัจจุบันของการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านน้ำในลุ่มแม่น้ำโขง – ล้านช้าง หน่วยงานหลักและบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ข้อสังเกตุต่อการแลกปลี่ยนข้อมูลด้านน้ำในลุ่มแม่น้ำโขง – ล้านช้าง และข้อเสนอกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ
รายงานเล่มที่ 3 เวทีสำหรับความร่วมมือใน ลุ่มน้ำโขง – ล้านช้าง – การเพิ่มพูน ความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การร่วมศึกษา และความร่วมมืออื่นๆ : นำเสนอข้อมูลในด้านต่างๆประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน ความท้าทายเชิงนโยบายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทรัพยากรน้ำ การเพิ่มพูนความร่วมมือผ่านกลไก
รายงาน
Final Project Report_6Dec2019_ONWR MLC WP1_CC and HDP_ANNEX I MLC WP2_Datasharing_ANNEX J MLC PolicyBrief_ANNEX K
โครงการวิจัยร่วมเพื่อการบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดน ด้านอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ ลุ่มน้ำสาย – น้ำรวก ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา “Joint Assessment of Thailand and Myanmar on Flood and Drought for Transboundary Water resources Management”
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองทุน LMC ปี ค.ศ. 2018
ดำเนินโครงการโดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
สถานะ : สาธารณรัฐประชาชนจีนได้พิจารณาขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2564 ดำเนินการ ส่งรายงานขั้นกลาง และการปรับปรุงแผนการดำเนินงานโครงการฯ
VIDEO
เป็นโครงการความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ โครงการที่ 2 ของประเทศไทย ที่ดำเนินการระหว่างประเทศสมาชิก MLC ภายใต้งบประมาณจำนวน 2,450,000 หยวน จากกองทุนพิเศษภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง -ล้านช้าง (MLC Special Fund) ปี ค.ศ. 2018 มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี (ภายในปี ค.ศ. 2020) สืบเนื่องปัญหาการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำสายหรือแม่น้ำรวก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่กั้นชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยกั้นเขตแดนจากอำเภอท่าขี้เหล็ก แขวงท่าขี้เหล็ก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา กับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ซึ่งสภาพทั่วไปของลำน้ำ มีสภาพคดเคี้ยวผ่านภูมิประเทศที่มีเขาสูง เมืองที่อยู่อาศัย ที่ราบลุ่มสำหรับทำการเกษตร จนไหลลงสู่แม่น้ำโขงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
จากสภาพภูมิประเทศโดยรอบของแม่น้ำรวก ทำให้เมื่อถึงฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำไหลลงลำน้ำปริมาณมาก ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมชุมชนเมืองโดยรอบทั้ง 2 ฝั่งของประเทศ และบริเวณพื้นที่ทำการเกษตร แต่เมื่อถึงฤดูแล้งจะประสบปัญหาไม่มีน้ำสำหรับทำการเกษตร จากปัญหาดังกล่าวรัฐบาลฝั่งประเทศไทย ได้ดำเนินการสร้างฝายจำนวน 3 ฝาย ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลางประเภทรับน้ำนอง (Inundation) เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และส่งน้ำจากแม่น้ำรวกเข้าคลองชลประทาน แต่ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาดำเนินการรื้อฝายในลำน้ำแม่สาย จำนวน 3 แห่ง ส่งผลให้ระดับน้ำในลำน้ำแม่สายลดต่ำลงจนไม่สามารถส่งน้ำเข้าคลองชลประทานได้
ซึ่งต่อมาได้มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิในการเดินเรือ การใช้น้ำอย่างเป็นธรรม การบำรุงรักษาและอนุรักษ์ทางเดินของน้ำในแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก ซึ่งเป็นคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยทางฝ่ายเมียนมายินยอมให้ฝ่ายไทยสร้างฝายไม้ไผ่กั้นน้ำชั่วคราว แต่ปัญหาดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินไปในทิศทางที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
จากปัญหาในการบริหารจัดการแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก ระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จึงจำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจในความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ในการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำสาย – แม่น้ำรวก โดยสามารถกักเก็บน้ำในฤดูแล้ง และระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วในฤดูน้ำฝน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับใช้ในแม่น้ำสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ความรู้ในด้านเทคโนโลยีของประเทศจีนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้างที่เกี่ยวกับ Water Resources Structural Measure ร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
วัตถุประสงค์
สร้างความรู้ ความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ตรงกัน ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า
สามารถแก้ไขปัญหาในการกักเก็บน้ำในฤดูแล้งและระบายน้ำในฤดูฝนในแม่น้ำสาย-แม่น้ำรวก
สร้างองค์ความรู้ในด้านเทคนิค วิชาการ เรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งภายในพื้นที่ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยและประเทศพม่า
กิจกรรมโครงการฯ
ใช้กลไกการประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาและวิจัยร่วม การพัฒนาและแบ่งปันเครือข่ายข้อมูลการฝึกอบรมร่วม การสัมมนา เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างประเทศไทย – เมียนมา โดยสร้างองค์ความรู้ด้านเทคนิคและวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายด้วย โดยมีการดำเนินการดังนี้
การเก็บรวบรวมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
เก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ ในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
เก็บข้อมูลภาคสนามในประเทศเมียนมา
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ
ดำเนินการจัดประชุม อบรม ให้ความรู้ และรวบรวมความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง
การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
การรวบรวมข้อมูล เพื่อดำเนินการทำแบบจำลอง
การสอบเทียบ และตรวจสอบค่าของแบบจำลอง
การจัดทำแบบจำลอง พร้อมสรุปผลแบบจำลองเพื่อใช้ประเมินด้านน้ำท่วมและน้ำแล้ง เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนระหว่างไทยและเมียนมา
การอบรมการใช้แบบจำลองที่ใช้ในพื้นที่ศึกษา
การเขียนรายงาน ซึ่งจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย
Inception Report
Progress report
Final Report
การดำเนินการ
คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสำหรับโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างระหว่างระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกับสถานเอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกดังกล่าว
การลงนามในบันทึกความเข้าใจข้างต้น ได้ลงนามเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้ส่งมอบเงินงบประมาณจากกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) ประจำปี 2561 จำนวน 2,450,000 หยวน สำหรับดำเนินโครงการ
วันที่ 27 มกราคม 2563 การลงนาม MOU ระหว่าง สทนช.กับมหาวิทยลัยแม่ฟ้าหลวง บูรณาการความร่วมมือในการดำเนินโครงการ