เมื่อวันที่ 14 – 20 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ดร. วินัย วังพิมูลผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ มอบหมายให้ผู้แทนกลุ่มแผนงานทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขง กองการต่างประเทศ ลงพื้นที่ร่วมกับกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง เพื่อสำรวจและติดตามปลาในทางผ่านปลา ณ ฝายห้วยวังช้าง อำเภอ สร้างคอม จังหวัด อุดรธานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่เชื่อมต่อกับลำน้ำสาขา ของแม่น้ำโขงตอนล่าง..อีกทั้งยังเป็นแหล่งอพยพของปลาในช่วงฤดูวางไข่..โดยการสำรวจและติดตามปลาในทางผ่านปลาครั้งนี้ดำเนินงานโดยใช้กรอบคู่มือทางผ่านปลา (Fishway Guidelines) ภายใต้กิจกรรมการตรวจสอบประสิทธิภาพของทางผ่านปลาของ MRC
ในการสำรวจและติดตามทางผ่านปลาดังกล่าว คณะทำงานฯ ได้ติดตั้งตาข่ายอวนดักปลาบริเวณต้นน้ำ กลางน้ำและท้ายน้ำ ณ ฝายห้วยวังช้าง เพื่อติดตามพันธุ์ปลาที่อพยพจากแม่น้ำโขง ซึ่งพบว่า ปลาส่วนใหญ่เป็นปลากลุ่มไส้ต้นตาแดง..ปลาตะเพียนทราย ปลาสร้อยนกเขา ปลาสร้อยลูกกล้วย ปลาสร้อยเกล็ดถี่ เป็นต้น โดยปลาส่วนใหญ่อยู่ในระยะพร้อมวางไข่ตามฤดูกาลเกือบทุกชนิด อีกทั้งคุณภาพน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพโดยรอบฝายอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมีความเหมาะสมต่อการอพยพของปลาและฝายห้วยวังช้าง จะเป็นทางผ่านปลาต้นแบบในการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงอันนื่องเป็นผลกระทบจากการพัฒนาและสิ่งปลูก-สร้างที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นทางผ่านปลาในอนาคต รวมถึงการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดและการทำประมงท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้สำหรับประเทศสมาชิก MRC ต่อไป